นางเนตรนภิส แสไธสง ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอพุทไธสง

นางเนตรนภิส แสไธสง  ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอพุทไธสง
เนตรนภิส แสไธสง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา (ศษ.ม.)มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำพฤติกรรมมหาวิทยาลัยโอไอว่า

ภาวะผู้นำ
                                 

                                 
คุณลักษณะ                   พฤติกรรม         ตามสถานการณ์                          ผู้นำร่วมสมัย
คุณลักษณะ                   พฤติกรรม         ตามสถานการณ์                          ผู้นำร่วมสมัย

ทฤษฎีพฤติกรรมภาวะผู้นำ(Behavioral Theory )
                            เป็นทฤษฏีที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด โดยพิจารณาลักษณะเฉพาะตัวตามแนวพฤติกรรมของผู้นำเน้นที่การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้นำที่พึงกระทำ การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำนั้นมีการศึกษาวิจัยหลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้
v Autocratic style
v Democratic style
v Laissez-faire style
-                   ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Style) เป็นผู้นำแบบเผด็จการ รวบอำนาจ ตัดสินใจ แต่เพียงผู้เดียวและสั่งการให้ผู้อื่นปฏิบัติตามภาวะผู้นำแบบนี้ก็จำเป็นต้องนำมาใช้ในบางสถานการณ์ตัวอย่างเช่นเมื่อบริษัท Daewoo ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ประธานบริษัทคือChairman Kimก็เปลี่ยนภาวะผู้นำของตนเองอย่างสิ้นเชิง จากผู้นำประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาเป็นผู้นำแบบเผด็จการที่รวมการตัดสินใจทุกอย่างไว้ที่ตนเอง กำหนดวิธีปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา สั่งงานและจำกัดการให้ข้อมูลประกอบ ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะต้องใช้วิธีการรึนแรงเช่นการให้พนักงานเกษียณก่อนกำหนดหรือให้ออกสำหรับผุ้ที่มีผลการปฏิบัติงานต่ำ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดของบริษัทนั้นเอง และการปรับเปลี่ยนภาวะผู้นำดังกล่าว ก็ส่งผลให้บริษัท Daewooสามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ด้านการเงิน กลับมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้(DuBrin and Ireland,1993)
-                   ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic Styie) ผู้นำประเภทนี้จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มในการตัดสินใจ และอนุญาตให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัตติงาน รวมทั้งจะแจ้งให้กลุ่มทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น อาทิ เป้าหมายขององค์กรรวมทั้งใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นโอกาสในการฝึกฝนสมาชิกกลุ่ม(สาคร สุขศรีวงค์,2549)
-                   ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faie Style) ผู้นำแบบเสรีนิยมนี้จะมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆเองโดยผู้นำไม่สนใจรับผิดชอบนอกจากนี้ยังไม่ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าทำงานดีหรือไม่ดีอย่างไรด้วย(DuBrin and Ireland,1993)
           นักวิจัยศึกษาพฤติกรรมและผลงานของผู้นำทั้ง3แบบเพื่อหาว่า ผู้นำแบบใดเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จหรือมีผลการดำเนินงานดีที่สุด และผู้นำแบบใดสร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิกกลุ่มสูงสุด จากการวิจัยพบว่า ผู้นำอัตตาธิปไตยและผู้นำแบบประชาธิปไตยสามารถสร้างผลงานให้องค์การได้สูงในระดับเดียวกัน ผู้นำแบบเสรีนิยมสร้างผลงานได้ต่ำสุด
    การเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้นำตามภาวะผู้นำประเภทต่างๆ
ภาวะผู้นำแบบอัตตาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบเสรีนิยม
-ผู้นำตัดสินใจเองแต่ผู้เดียว
-ผู้นำเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มในการตัดสินใจ
-ผู้นำมอบอำนาจให้กลุ่มตัดสินใจได้โดยเสรี
-กำหนดวิธีปฏิบัติงานเองแล้วจึงแจ้งให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติตาม
-อนุญาตให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัติงาน
-ไม่เกี่ยวข้องในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานแต่คอยดูแลอยู่ห่างๆ
-จำกัดการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กลุ่มกับ
-แจ้งให้กลุ่มทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอาทิเป้าหมายขององค์การ
-ไม่ค่อยติดต่อสื่อสารกับกลุ่มแต่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเฉพาะเพื่อตอบข้อซักถาม
-ไม่ค่อยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับยกเว้นกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานผิดพลาด
- ใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นโอกาสในการฝึกฝนสมาชิกกลุ่ม
-หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลย้อนกลับ


ส่วนสมาชิกในองค์การมีความพึงพอใจกับผู้นำแบบประชาธิปไตยสูงที่สุด ขณะที่ผุนำอีก2 แบบไม่ค่อยได้รับความพึงพอใจจากสมาชิก ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้นำแบบอัตตาธิปไตยสามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีภายใต้เวลาที่จำกัด ซึ่งแตกต่างจากผู้นำประเภทอื่นที่จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อมีเวลามากอย่างเพียงพอแล้วเท่านั้น(สาคา สุขศรีวงค์,2549)
Autocratic and Democratic Leader
           Kurt Lewin ได้ทำการศึกษาในปลายทศวรรษที่ 1930 พบว่ากลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไปทำงานได้ในจำนวนเหมือนๆกับกลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบเผด็จการ แต่สมาชิกของกลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยมีความพึงพอใจในงานมากกว่า
            นักวิจัยได้แก่Robert Tannenbaum และWarren H.Schmidt ได้ขยายทรรศนะที่มีต่อภาวะผู้นำแบบเผด็จการและประชาธิปไตยจาก 2 พฤติกรรมออกเป็น 7 พฤติกรรม



                                                                ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
                  ภาวะผู้นำแบบเผด็จการ
การใช้อำนาจหน้าที่โดยผู้จัดการ
                                                                              พื้นที่ความมีอิสระของผู้ใต้บังคับบัญชา

ผู้จัดการทำการตัดสินใจและประกาศใช้ให้บุคลากรปฏิบัติ.

ผู้จัดการชักจูงให้บุคลากรเห็นชอบในสิ่งที่ตนตัดสินใจ

ผู้จัดการสอบถามความเห็นของบุคลากรที่มีต่อความคิดของตนและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเอ

ผู้จัดการกำหนดกรอบที่เป็นข้อจำกัดและสอบถามกลุ่มเพื่อทำการตัดสินใจ

ผู้จัดการอนุญาตให้กลุ่มทำหน้าที่อย่างอิสระภายใต้กรอบที่เป็นข้อจำกัด


                                                                                    
                                                                                      นางเนตรนภิส   แสไธสง  เลขที่ 47
                                                                                    นางสาวบุนยนุช  ขวัญอยู่  เลขที่ 48

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวการศึกษา