นางเนตรนภิส แสไธสง ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอพุทไธสง

นางเนตรนภิส แสไธสง  ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอพุทไธสง
เนตรนภิส แสไธสง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา (ศษ.ม.)มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สอบปลายภาคเรียนที่1/2554




ณ โรงเรียนพุทไธสง ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ร่วมงานมหกรรม กีฬา กศน.เกมส์ จังหวัดเชียงใหม่

ร่วมงานมหกรรม กีฬา กศน.เกมส์ จังหวัดเชียงใหม่





ระหว่างวันที่ ๕- ๘ กันยายน ๒๕๕๔ ณ สนาม กีฬา ๗๐๐ ปีจังหวัดเชียงใหม่เจ้าๆๆ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ร่วมงานประกวดหม่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงณบ้านหัวสะพาน หมู่18

ร่วมงานประกวดหม่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงณบ้านหัวสะพาน หมู่18วันที่19 สิงหาคม 2554

ออกโครงการอำเภอยิ้มโรงเรียนวัดท่าเยี่ยม

ออกโครงการอำเภอยิ้มโรงเรียนวัดท่าเยี่ยมวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔

กศน.อำเภอพุทไธสง ได้นำหนังสือ วารสารต่างๆออกบริการรักการอ่านและบริการผัดหมี่ส้มตำอร่อยๆ

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

สัมมนาisที่เขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง

สัมมนาisที่เขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์


๒๙-๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ อากาศหนาวเย็นมากๆ

ภาพเช้าวันที่20มีนาคม2554

ภาพเช้าวันที่20มีนาคม2554
บรรยากาศก่อนเข้าห้องเรียนเวลา 06.00 น. บริเวณ หน้าอาคาร11 ,12

                                                            น้องปูเป้, น้องบานเย็น,น้องตุ๊กตา สู้ตายค่ะ
                                                      เป็นงัยบรรยากาศเช้าๆที่ มกธ. น่าเรียนมัยล่ะ
                                            อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนดีๆๆให้ร้องเพลงตลอด(มักอ้ายหลายอีหลี)

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อบรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนานักศึกษากศน.อำเภอพุทไธสง

อบรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนานักศึกษากศน.อำเภอพุทไธสง
ระหว่างวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ศูนย์อินเตอร์เน็ตเทศบาลตำบลพุทไธสง


วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชุมเชิงปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอน





ภาพการเข้าประชุมเชิงปฎิบัติการการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู
โดยมีรองศาสตรจารย์ดร.พชรี  ศรีสังข์ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ วิทยากร การอบรมร่วมครั้งนี้โดยความร่วมมือกับ๓ อำเภอคือ
กศน.อำเภอโนนศิลา,กศน.อำเภอพุทไธสง,กศน.อำเภอหนองบัวแดง
ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ มกราคม ๒๕๕๔ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น



ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการ
      การวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าแบบส่องสะท้อนตนเองของกล่มผู้ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยการระบุปัญหาหรือความต้องการพัฒนาในงานที่รับผิดชอบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเป็นการวิจัยที่ทำอย่างรวดเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันทีและสะท้อนข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่างๆให้เพื่อนร่วมงานได้มีโอกาสอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวทางที่ได้ปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาการทำงานต่อไป
          การวิจัยปฏิบัติการมาจากการเชื่อมโยงคำสองคำ คือคำว่า "การปฏบัติการ "(Action)       และ   "การวิจัย" (Research) ซึ่งเป็นการเน้นให้เห็นความหมายว่าเป็นการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาแลพัฒนาการปฏิบัติงานหรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฏีกับการปฎิบัติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จากแนวคิดไปส่การปฏิบัติ

ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ
          ผู้วิจัย   คือ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน
          สิ่งที่ถูกวิจัย    คือ การปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย  คือ การพัฒนาการทำงาน การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เน้นผลการวิจัยที่จะนำไปเปลี่ยนปแปลงการทำงาน
วิธีการวิจัย  คือ กระบวนการค้นหาข้อความร้ที่มีขั้นตอน หลัดกสำคัญคือการวิจัยและการปฏิบัติการ
ลักษณะสำคัญ   ๑. เป็นการสะท้อนผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นของตนเอง
                           ๒. เปิดโอกาสให้ผ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงาน/เพื่อนร่วมงานมีส่วนในการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานและผลที่ได้รับ
                            ๓. เป็นกระบวนการที่มีการดำเนินงานเป็นวงจรต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานกล่าวคือ"ปฏิบัติงานไปวิจัยไป"
                            ๔. ผลที่ได้รับจากการวิจัย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน
สรุป  ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ มีลักษณะปฏิบัติงานไปวิจัยไปดังภาพประกอบ


ปฏิบัติงาน...................                วิจัย(คิด ค้น พัฒนา).........................      ปฏิบัติงาน......................


ปัญหา/ความต้องการพัฒนา   วิธีการแก้ไขปัญหา/วิธีการพัฒนา       นำผลการวิจัยวิธีการแก้ไข           ปัญหา                                                                                              ไปปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำพฤติกรรมมหาวิทยาลัยโอไอว่า

ภาวะผู้นำ
                                 

                                 
คุณลักษณะ                   พฤติกรรม         ตามสถานการณ์                          ผู้นำร่วมสมัย
คุณลักษณะ                   พฤติกรรม         ตามสถานการณ์                          ผู้นำร่วมสมัย

ทฤษฎีพฤติกรรมภาวะผู้นำ(Behavioral Theory )
                            เป็นทฤษฏีที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด โดยพิจารณาลักษณะเฉพาะตัวตามแนวพฤติกรรมของผู้นำเน้นที่การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้นำที่พึงกระทำ การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำนั้นมีการศึกษาวิจัยหลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้
v Autocratic style
v Democratic style
v Laissez-faire style
-                   ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Style) เป็นผู้นำแบบเผด็จการ รวบอำนาจ ตัดสินใจ แต่เพียงผู้เดียวและสั่งการให้ผู้อื่นปฏิบัติตามภาวะผู้นำแบบนี้ก็จำเป็นต้องนำมาใช้ในบางสถานการณ์ตัวอย่างเช่นเมื่อบริษัท Daewoo ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ประธานบริษัทคือChairman Kimก็เปลี่ยนภาวะผู้นำของตนเองอย่างสิ้นเชิง จากผู้นำประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาเป็นผู้นำแบบเผด็จการที่รวมการตัดสินใจทุกอย่างไว้ที่ตนเอง กำหนดวิธีปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา สั่งงานและจำกัดการให้ข้อมูลประกอบ ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะต้องใช้วิธีการรึนแรงเช่นการให้พนักงานเกษียณก่อนกำหนดหรือให้ออกสำหรับผุ้ที่มีผลการปฏิบัติงานต่ำ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดของบริษัทนั้นเอง และการปรับเปลี่ยนภาวะผู้นำดังกล่าว ก็ส่งผลให้บริษัท Daewooสามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ด้านการเงิน กลับมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้(DuBrin and Ireland,1993)
-                   ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic Styie) ผู้นำประเภทนี้จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มในการตัดสินใจ และอนุญาตให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัตติงาน รวมทั้งจะแจ้งให้กลุ่มทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น อาทิ เป้าหมายขององค์กรรวมทั้งใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นโอกาสในการฝึกฝนสมาชิกกลุ่ม(สาคร สุขศรีวงค์,2549)
-                   ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faie Style) ผู้นำแบบเสรีนิยมนี้จะมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆเองโดยผู้นำไม่สนใจรับผิดชอบนอกจากนี้ยังไม่ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าทำงานดีหรือไม่ดีอย่างไรด้วย(DuBrin and Ireland,1993)
           นักวิจัยศึกษาพฤติกรรมและผลงานของผู้นำทั้ง3แบบเพื่อหาว่า ผู้นำแบบใดเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จหรือมีผลการดำเนินงานดีที่สุด และผู้นำแบบใดสร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิกกลุ่มสูงสุด จากการวิจัยพบว่า ผู้นำอัตตาธิปไตยและผู้นำแบบประชาธิปไตยสามารถสร้างผลงานให้องค์การได้สูงในระดับเดียวกัน ผู้นำแบบเสรีนิยมสร้างผลงานได้ต่ำสุด
    การเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้นำตามภาวะผู้นำประเภทต่างๆ
ภาวะผู้นำแบบอัตตาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบเสรีนิยม
-ผู้นำตัดสินใจเองแต่ผู้เดียว
-ผู้นำเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มในการตัดสินใจ
-ผู้นำมอบอำนาจให้กลุ่มตัดสินใจได้โดยเสรี
-กำหนดวิธีปฏิบัติงานเองแล้วจึงแจ้งให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติตาม
-อนุญาตให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัติงาน
-ไม่เกี่ยวข้องในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานแต่คอยดูแลอยู่ห่างๆ
-จำกัดการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กลุ่มกับ
-แจ้งให้กลุ่มทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอาทิเป้าหมายขององค์การ
-ไม่ค่อยติดต่อสื่อสารกับกลุ่มแต่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเฉพาะเพื่อตอบข้อซักถาม
-ไม่ค่อยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับยกเว้นกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานผิดพลาด
- ใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นโอกาสในการฝึกฝนสมาชิกกลุ่ม
-หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลย้อนกลับ


ส่วนสมาชิกในองค์การมีความพึงพอใจกับผู้นำแบบประชาธิปไตยสูงที่สุด ขณะที่ผุนำอีก2 แบบไม่ค่อยได้รับความพึงพอใจจากสมาชิก ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้นำแบบอัตตาธิปไตยสามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีภายใต้เวลาที่จำกัด ซึ่งแตกต่างจากผู้นำประเภทอื่นที่จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อมีเวลามากอย่างเพียงพอแล้วเท่านั้น(สาคา สุขศรีวงค์,2549)
Autocratic and Democratic Leader
           Kurt Lewin ได้ทำการศึกษาในปลายทศวรรษที่ 1930 พบว่ากลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไปทำงานได้ในจำนวนเหมือนๆกับกลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบเผด็จการ แต่สมาชิกของกลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยมีความพึงพอใจในงานมากกว่า
            นักวิจัยได้แก่Robert Tannenbaum และWarren H.Schmidt ได้ขยายทรรศนะที่มีต่อภาวะผู้นำแบบเผด็จการและประชาธิปไตยจาก 2 พฤติกรรมออกเป็น 7 พฤติกรรม



                                                                ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
                  ภาวะผู้นำแบบเผด็จการ
การใช้อำนาจหน้าที่โดยผู้จัดการ
                                                                              พื้นที่ความมีอิสระของผู้ใต้บังคับบัญชา

ผู้จัดการทำการตัดสินใจและประกาศใช้ให้บุคลากรปฏิบัติ.

ผู้จัดการชักจูงให้บุคลากรเห็นชอบในสิ่งที่ตนตัดสินใจ

ผู้จัดการสอบถามความเห็นของบุคลากรที่มีต่อความคิดของตนและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเอ

ผู้จัดการกำหนดกรอบที่เป็นข้อจำกัดและสอบถามกลุ่มเพื่อทำการตัดสินใจ

ผู้จัดการอนุญาตให้กลุ่มทำหน้าที่อย่างอิสระภายใต้กรอบที่เป็นข้อจำกัด


                                                                                    
                                                                                      นางเนตรนภิส   แสไธสง  เลขที่ 47
                                                                                    นางสาวบุนยนุช  ขวัญอยู่  เลขที่ 48

ข่าวการศึกษา